นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ชี้ความพ่ายแพ้การเลือกตั้งซ่อมกทม.เขต 9 ส่งผลต่อการเมือง กระทบพปชร. ทำให้พรรคเล็กลงหรือไม่มีชื่อในการเลือกตั้งครั้งหน้า เชื่อเกมล้มนายกฯจะกลับมา

รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และกฎหมายมหาชน  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองผลการเลือกตั้งผ่านรายการ “Suthichai Yoon”ไลฟ์สด facebook ว่า การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กทม.เขตเลือกตั้งที่ 9 แทนตำแหน่งที่ว่าง (เขตหลักสี่ และจตุจักร เฉพาะแขวงลาดยาว เสนานิคม และจันทรเกษม) โดยระบุว่า ต่างจากการเลือกตั้งซ่อมที่เขต 1 ชุมพร และเขต 6 สงขลา การต่อสู้เชิงขั้วอุดมการณ์ไม่ชัด เป็นการสู้ตระกูลทางการเมือง ต่อสู้พรรคการเมือง แต่ในพื้นที่หลักสี่ จตุจักร ตระกูลการเมืองไม่มีผล ความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้นกับผู้สมัครพรรคพลังประชารัฐ  สะท้อนว่าการตัดสินใจละคะแนนของประชาชนไม่เกี่ยวกับตระกูล

รศ.ยุทธพร ชี้ว่า ผลการเลือกตั้งบอกได้ว่า หลวงพ่อป้อมไม่ขังเหมือนก่อน กระแสนิยมลุงตู่ไม่เหมือนเดิม พรรคพลังประชารัฐทบทวนว่าจะเดินต่อกันอย่างไร หากมีกระแสโดมิโนกลับไปที่พรรคอาจทำให้กลุ่มการเมืองอื่น ๆ ขยับเขยื้อน  เช่นอาจมีการย้ายขั้ว ย้ายค่าย โอกาสที่เราจะเห็นพรรคพลังประชารัฐลดขนาดลงมีความเป็นไปได้ หรืออาจไม่มีพรรคพลังประชารัฐในการเลือกตั้งครั้งหน้าก็มีความเป็นไปได้

เหตุผลที่พรรคพลังประชารัฐจะเล็กลงหรือไม่อยู่ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ประการแรก เพราะภาพสะท้อนแพ้เลือกตั้งสามสนามติด  ทั้งที่ก่อนหน้านี้การเลือกตั้งซ่อมพรรคพลังประชารัฐประสบความสำเร็จมาตลอด

ประการที่สองคือ บุคคลที่เป็นจักกลสำคัญของพรรคพลังประชารัฐคนหนึ่งก็คือ ร.อ.ธรรมนัสถูกขับออกจากพรรค

ประการที่สามคือ การเกิดของพรรคสร้างอนาคตไทยของกลุ่มสี่กุมารอดีตแกนนำพรรคพลังประชารัฐจะดึงคนจากพรรคพลังประชารัฐไปได้มากน้อยแค่ไหน

ประการสุดท้ายคือ บทบาทของกลุ่มสามิตรในพรรคพลังประชารัฐ  ซึ่งวันนี้เป็นกลุ่มใหญ่กลุ่มสุดท้ายแล้ว

ที่ยังอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ เพราะฉะนั้นถ้ากลุ่มสามิตรขยับพรรคพลังประชารัฐสะเทือนแน่นอน กลุ่มสามิตรมีแนวทางเดินได้หลายทิศทาง ไม่ว่าไปตั้งพรรคใหม่ หรือถ้าได้รับคำเชิญจากพรรคสร้างอนาคตไทยของกลุ่มสี่กุมาร หรือกลับไปพรรคเพื่อไทย

ขณะที่หากกลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ย้ายเข้าสังกัดพรรคใหม่ได้สมบูรณ์ จุดนี้ต้องจับตาว่า การขยับของเซลอิสระอย่างร.อ.ธรรมนัส จะเป็นอย่างไร เพราะจนถึงขณะนี้ แม้จะมีกระแสข่าวว่าร.อ.ธรรมนัส จะย้ายไปอยู่เศรษฐกิจไทยแต่ยังไม่มีคำยืนยันจากร.อ.ธรรมนัส  นี่คือการเดินการเมืองแบบเซลอิสระ ซึ่งเซลอิสระตรงนี้ไปอยู่ตรงไหนสมการการเมืองจะเปลี่ยน

เช่น สนับสนุนรัฐบาล รัฐบาลก็ได้ไปต่อ หรือจะสนับสนุนเป็นเรื่อง ๆ เป็นบางกรณีไป จะเป็นกฎหมาย หรือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ถ้าไปยิ่งกว่านั่นคือไปเป็นฝ่ายค้าน หรือฝ่ายค้านอิสระ  สภาพรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำก็จะกลับมา และเมื่อถึงตรงนั้น จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

“ผมคิดว่าการต่อลองของคุณธรรมนัสครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมาย แค่เก้าอี้รัฐมนตรี แต่น่าจะเดินไปสู่เกมล้มนายกฯ เหมือนกับเมื่อปลายปี 2564″รศ.ยุทธพร กล่าว และว่า เกมล้มนายกรัฐมนตรียังไม่เกิด เพราะเกมที่ฝ่ายค้านยืนญัตติอภิปรายไปไม่มีการลงมติ อาจไม่มีผลทางกฎหมายแต่มันมีผลทางการเมือง อาจสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองทั้งในและนอกสภา

นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เชื่อว่า พอเดือนเมษายน และพฤษภาคม เข้าสู่สมัยประชุมหน้า ฝ่ายค้านจะใช้สิทธิอภิปรายแบบลงมติ เมื่อถึงจุดนั้นมันก็จะเกิดการเคลื่อนไหว  และการอภิปรายแบบลงมติไม่ไว้วางใจจะชี้ทิศทางการเมืองได้เลย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจเจอเกมล้มนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง เหมือนเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

ใส่ความเห็น

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม