พยากรณ์อากาศรายภาคของประเทศไทยพร้อมแผนที่เสี่ยงภัยฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทย

3 – 6 เมษายน 2564 นี้ต้องติดตามและเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน คราวนี้น่าจะมามาก (รุนแรงกว่า รอบเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564) เนื่องจากมี 3 ปัจจัยหลักๆ คือ มวลอากาศเย็นที่จะแผ่ลงมา ปกคลุมทางภาคอีสาย และทะเลจีนใต้ ทำให้เกิดเป็นลมใต้ ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามา ปัจจัยที่ 2. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนที่ปกคลุมทางตอนบน บางพื้นที่อุณหภูมิร้อนจัด (ตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียส) และปัจจัยที่ 3 คือคลื่นกระแสลมฝ่ายคะวันตก จะพัดเข้ามปกคลุมทางภาคเหนือ อีสานตอนบน จึงเป็นผลทำให้เกิดฝน/ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า และบางพื้นที่มีลูกเห็บตกด้วย ต้องเตรียมความพร้อมรับมือ เร่งเสริมสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ป้ายโฆษณาที่ใกล้ชุมชน และในขณะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง ต้องงดอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใกล้ต้นไม้ใหญ่ หรืองดใช้สื่อนำไฟฟ้าทุกชนิด ต้องเฝ้าติดตามและสังเกต หากมีความแปรปรวนของอากาศ หรือมีเมฆที่ก่อตัวในทางตั้ง หรือเมฆฝนฟ้าคะนอง พี่น้องเกษตรกร ต้องเตรียมค้ำยันกิ่งผลไม้ต่างๆ ให้แข็งแรง โดยคาดว่าพายุฤดูร้อนนี้จะเริ่มทางภาคอีสานก่อน ในวันที่ 3 เมษายน 64 จากนั้นภาคอื่นๆ จะได้รับผลกระทบในลำดับถัดไป เตรียมการนะครับ

ใส่ความเห็น

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม