กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนภัยพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 3 

Ittipan Buathong

กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนภัยพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 3 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 3 (104/2566)

ในช่วงวันที่ 15 – 16 เมษายน 2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร และอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีผลกระทบ

วันที่ 15 เมษายน 2566

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:    จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬสกลนคร นครพนม มุกดาหาร ชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ดยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก:                 จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด

วันที่ 16 เมษายน 2566

ภาคเหนือ:                       จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิจิตรพิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:    จังหวัดเลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคามนครราชสีมา และ บุรีรัมย์

ภาคกลาง:                       จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรีสุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงครามสมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก:                 จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยาhttp://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

(หมายเหตุ : ประเทศไทยตอนบน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก)

          ประกาศ ณ วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 17.00 น.

  กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2566 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนภัยพายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 3 

                                                                    (ลงชื่อ)  ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย                                            

                          (ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย)

                          รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา

                 รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา