ผู้ทำประกันโควิด-19 บริษัททิพยประกันภัย ชุมนุมเรียกร้องเงินสินไหมทดแทน หลังถูกปฏิเสธแม้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล บริษัทประกันอ้างว่าไม่เข้าข่ายความเสี่ยง 5 ประการตามเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข

ที่บริษัททิพยประกันภัย วันที่ 21 มีนาคม 2565 ผู้เอาประกัน จำนวนกว่า 280 คน ใส่ชุดดำ นัดรวมตัวหน้า บ.ทิพยประกันภัย สำนักงานใหญ่เรียกร้องให้จ่ายค่าสินไหม โดยต้องได้รับการชดเชยรายได้รายวันจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 ตามเงื่อนไขกรมธรรม์  โดยผู้เอาประกัน ยืนยันว่า ตนไม่ใช่ผู้ป่วยสีเขียวตามที่ผู้บริหารเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน แต่พวกตนได้รับการรักษาในโรงพยาบาลและมีเอกสารใบรับรองแพทย์ ไม่ใช่กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารักษาตัวแบบ Home Isolation (HI), Community Isolation (CI) หรือ Hotel Isolation

แต่การที่บริษัททิพยประกันภัยปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม โดยอ้างอิงตามแนวทางปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์ เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2565 มีข้อกำหนดว่า ต้องมีอาการเป็นไปตามเวชปฏิบัติของกระทรวงสาธารณสุข 5 ข้อ เช่น ไข้สูง 39 องศา หายใจเร็ว อ็อกซิเจนต่ำกว่า 94 มีโรคประจำตัว

แต่ในเงื่อนไขกรมธรรม์ไม่ได้รายละเอียดตั้งแต่แรก และแนวทางดังกล่าวออกมาหลังจากที่ซื้อไปประกันแล้ว กระทบต่อผู้เอาประกันจำนวนมาก เบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 10,000 คน จากการรวบรวมผ่านกลุ่มไลน์และโซเชียลมีเดีย

บริษัททิพยประกันภัยได้ส่งเจ้าหน้าที่สินไหมมาเจรจาและขอให้ผู้เอาประกันได้เข้าเจรจาตามจุดที่ได้จัดเตรียมแยกตามประเภทของผู้เอาประกัน แต่ผู้เรียกร้องไม่ยินยอมและปักหลักด้านหน้าเพื่อเจรจาร่วมกัน

ผู้เอาประกัน ยืนยันว่า จะให้เวลา 7 วันในการดำเนินการเพื่อจ่ายค่าสินไหม เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายสมพร สืบถวิลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ทิพย กรุ๊ป โฮล ดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ได้ออกมาชี้แจงว่า แม้จะเป็นผู้ป่วยกลุ่ม HI หรือ CI หรือ Hotel Isolation รวมถึง ผู้ป่วย IPD ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ภายใต้ความเสี่ยง 5 ประการ จึงจะได้รับเคลมค่าสินไหม

ขณะที่ บอร์ดคปภ.เคยมีมติให้จ่ายค่าสินไหมผู้ป่วยโควิด-19 เพียงแค่เข้าข่ายความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งก็จะได้เงินสินไหม โดยยืนยันว่าแนวทางดังกล่าวเป็นเพียงแค่แนวทางปฏิบัติทางการแพทย์เพื่อให้บริษัทประกันพิจารณาเท่านั้น

ใส่ความเห็น

ฮอนด้า แอคคอร์ด

ที่สุดแห่งเทคโนโลยีการขับเคลื่อนระดับพรีเมียม