กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศรายภาคของประเทศไทยพร้อมแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทย

Ittipan Buathong

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศรายภาคของประเทศไทยพร้อมแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทย

กรมอุตุนิยมวิทยาคาดหมายลักษณะอากาศใน 7 วันข้างหน้า ตั้งแต่ 1 – 7 เมษายน 2565 ในช่วงวันที่ 1 – 3 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นกับมีลมแรง ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง โดยจะเริ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส

ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตอนบนช่วยคลายความร้อนลงได้

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศรายภาคของประเทศไทยพร้อมแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทย

ส่วนในช่วงวันที่ 4 – 7 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 3-5 องศาเซลเซียส

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณปลายแหลมญวน มีแนวโน้มจะเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ในช่วงวันที่ 2 – 3 เม.ย. 65 ทำให้ลมฝ่ายตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร หลังจากนั้น คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 1 – 3 เม.ย. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน

กรมอุตุฯพยากรณ์อากาศรายภาคของประเทศไทยพร้อมแผนที่พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบริเวณประเทศไทย

ส่วนในช่วงวันที่ 1 – 7 เม.ย. 65 ประชาชนบริเวณภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

Leave a Comment