กระทรวงเกษตรฯ.ร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

Mummai Media

“อลงกรณ์-โฆษิต”รวมพลคนครีเอทีฟร่วมคิกออฟ”งานสินค้าเกษตรXคาแรคเตอร์”18-20 พ.ย.ที่ตลาดน้ำ อตก.

กระทรวงเกษตรฯ.ร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงาน “ตลาดนัดสินค้าเกษตร X คาแรคเตอร์” (Agriproducts X Character Market ) ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 พฤศจิกายน 2565 ณ ตลาดน้ำ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมไฮไลท์การประชุมเอเปค (APEC)

โดยมี นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายปิยวุฒิ วิหงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจเกษตร องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร นายโฆสิต สุวินิจจิต ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสัตวแพทย์อนันต์ ฤกษ์ดี คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น.ส.ดวงใจ คูห์ศรีวินิจ นายกสมาคมการค้าลิขสิทธิ์และของที่ระลึก จากคาแรคเตอร์ดีไซน์ ของเล่น และผลงานศิลป์ร่วมสมัย (TCAP) น.ส.มณฑา ไก่หิรัญ ผู้จัดการส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย น.ส.ดวงพร วิสุทธิ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรมสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) นายภควัต วงศ์ไทย นักพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจและนวัตกรรมอาวุโส สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) นายสุรศักดิ์ สุยาคำ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนา SMG และ start up ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วม

ซึ่งการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีอัตลักษณ์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางด้านการตลาดให้กับเกษตรกรและสินค้าเกษตร ช่วยในการทำประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และเป็นการส่งเสริมและสร้างช่องทางในการนำคาแรคเตอร์(character) ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม พัฒนาเกษตรกร/ผู้ประกอบการ ส่งเสริมให้เกิดการนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนเพื่อให้เกิดการใช้งานคาแรคเตอร์ (character) กับสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชนทั่วประเทศ โดยภายในงานได้นำสินค้าเกษตรที่ผลิตด้วยกระบวนการผลิตที่ปรับใช้คาแรคเตอร์เพื่อเพิ่มมูลค่า และสินค้าชุมชนกว่า 28 พื้นที่ทั่วประเทศมาจัดแสดงและจำหน่าย

กระทรวงเกษตรฯ.ร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง
กระทรวงเกษตรฯ.ร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ นโยบาย “ตลาดนำการผลิต” และนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0” ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มุ่งพัฒนาการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเพื่อให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก รวมทั้งยกระดับสู่เกษตรมูลค่าสูงตามหมุดหมายใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบคาแรคเตอร์มาเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรของเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์และสถาบันเกษตรกร รวมทั้งการส่งเสริมสตาร์ทอัพเกษตรรุ่นใหม่ ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมลิขสิทธิ์นานาชาติ หรือ LIMA ระบุว่า สำหรับปี 2564 ภาพรวมของสินค้าและบริการที่นำเอาลิขสิทธิ์ของผลงานสร้างสรรค์ในรูปแบบต่าง ๆ มาใช้ในโลก มีมูลค่าสูงถึง 315.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเพิ่มขึ้นมาจากปี 2019 ร้อยละ 7.75 แม้จะเป็นช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของโคโรนาไวรัสทั่วโลกก็ตาม

กระทรวงเกษตรฯ.ร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

นอกจากนี้มูลค่าของค่าลิขสิทธิ์ผลงานสร้างสรรค์ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 โดยมีมูลค่าราว 17.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาแรคเตอร์เป็นประเภทผลงานสร้างสรรค์ที่มูลค่าสูงสุดถึง 129.9 พันล้านเหรียญ หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของผลงานสร้างสรรค์ทุกประเภท เนื่องจากคาแรคเตอร์มีจุดเด่นที่สามารถนำเอาไปใช้ได้ง่าย และเข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลายวิธี ส่วนในประเทศไทยมีมูลค่าการใช้คาแรคเตอร์สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกราวร้อยละ 20 (ร้อยละ 62 ของมูลค่ารวมโดยประมาณ) ติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องหลายปี โดยใช้ในการส่งเสริมการขายและการตลาดของภาคธุรกิจในสินค้าหลากหลายประเภทที่จำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ตามกิจกรรมการตลาดที่ประชาสัมพันธ์ออกมาตามสื่อต่าง ๆ หรือนำไปผลิตเป็นสินค้า ตลอดจนใช้ในการประชาสัมพันธ์การบริการต่าง ๆ ซึ่งเกือบทั้งหมดก็จะเป็นคาแรคเตอร์ชั้นนำ ที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศที่เรารู้จักกันดี แต่แทบจะไม่มีคาแรคเตอร์ไทยได้แชร์ส่วนแบ่งเลย

กระทรวงเกษตรฯ.ร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มองเห็นโอกาสดังกล่าวในการนำไปเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรไทย จึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมการใช้คาแรคเตอร์กับธุรกิจเกษตร โดยคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีนายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นประธาน ได้ต่อยอดผลสำเร็จของโครงการ Change 2021 และ 2022 Visual Character Arts for SME ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมกับสมาคมการค้าลิขสิทธิ์และของที่ระลึก จากคาแรคเตอร์ดีไซน์ของเล่น และผลงานศิลป์ร่วมสมัยไทย หรือสมาคม TCAP (ทีแคป) ซึ่งยึดแนวความคิดแบบเศรษฐกิจเผื่อแผ่ โดยให้โอกาสเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่ของคาแรคเตอร์นั้น ๆ สามารถยื่นขออนุญาตนำลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ส่งเสริมการขายสินค้าและบริการของตนได้ โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งแนวทางนี้หากได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมผลักดัน

กระทรวงเกษตรฯ.ร่วมไฮไลท์เอเปค โชว์ก้าวใหม่สร้างสรรค์เกษตรสู่มูลค่าสูง

ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความแข็งแรงของคาแรคเตอร์ในภาพรวมเปรียบเสมือนหนึ่งในแบรนดิ้งจังหวัดแล้ว ยังจะทำให้เกิดประโยชน์กับทุกภาคส่วนที่นำไปใช้ กระจายไปทั่วประเทศ โดยผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถาม เพื่อซื้อหรือขอใช้ลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์ไปใช้ในการพัฒนาสินค้า โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะขยายผลความร่วมมือนี้ให้กระจายไปสู่พี่น้องเกษตรกรและผู้ประกอบการทั่วประเทศต่อไป

นอกจากนี้ ภายในงานมีสตาร์ทอัพ 2 ราย ที่จะนำเสนอเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์การสร้างรูปแบบตลาดใหม่ให้กับชีวิตคนเมือง พร้อมสร้างคุณค่าใหม่ให้กับสินค้าเกษตรได้อย่างยั่งยืน ได้แก่ “ส่งสด”เป็นการรวบรวมสินค้าเกษตรคุณภาพดีจากตลาดสด ให้ได้ของสด ของดี มีคุณภาพครบ ส่งตรงถึงครัวคุณ ร้านอาหาร และทุกธุรกิจที่ต้องการสินค้าเกษตร เป็นการเพิ่มช่องการขายสินค้าเกษตรให้ถึงมือผู้ใช้งาน และ “วาริชธ์” ที่มีบริการด้านการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีครบถ้วนทุกมาตรฐานการผลิต ในการสร้างช่องทางตลาดออนไลน์ จนถึงการส่งออกไปต่างประเทศ ดังนั้นสินค้าเกษตรที่จะล้นตลาด สามารถมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและมีตลาดให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งผลงานของสตาร์ทอัพทั้ง 2 รายนี้ เกษตรกรสามารถนำมาปรับใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลผลิตของตนเองได้ต่อไป